Disruption

DISRUPTION



การทำงานในองค์การยุค (Disruption)    

            ในยุคนี้การทำงานกลายเป็นดิจิทัลมากขึ้น  มีการใช้ข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้ ทุกที่ ทุกเวลา ส่งผลในการทำงานของเราไม่จำกัดอยู่แค่ภายในออฟฟิศเหมือนก่อน โดยมีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงานเกือบทุกขั้นตอน และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ดังนั้น องค์กรต่างๆรวมถึงคนที่ยังใช้เทคโนโลยีไม่คล่อง จะได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

 “ความใฝ่รู้” และ “ความมานะบากบั่น”
 คือคนที่องค์กรมองหา

5 สิ่งสำคัญสำหรับผู้นำองค์การยุค Disruption

1. ต้องสื่อสารเป็น
    โดยสื่อสารอย่างเปิดเผย ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ชัดเจน
     ตรงประเด็น
2. ต้องใช้คนเป็น
    โดยถือหลัก คนถูกงาน งานถูกคน เหมาะสมกับเวลา และ
    ต้องกระตุ้นให้สมาชิกในทีมอยากทำงานมากขึ้น หรือกล้าที่
    จะทำงานที่ยาก และท้าทายกว่าเดิม
3. ต้องกล้าเผชิญหน้า
    กับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ งานใหม่ที่หินมากกว่าเดิม งานที่
    ไม่เคยทำงานที่ไม่มีใครกล้า หรือไม่อยากทำ
4. ต้องคิดมากกว่าเดิม
    เพื่อวางแผน และทำงานงานให้ดีกว่าเดิม ต้องคิดถึงอนาคต มองภาพรวม คิดหาวิธีการทำงานใหม่ และมองโลกแง่ดี
5. สร้างกำลังใจได้เอง
    และส่งต่อพลังใจนั้นไปยังสมาชิกในทีมทุกคน เพื่อขับเคลื่อนทีมให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องไม่หยุด


แนวคิดการจัดการองค์การแบบ Autonomous Organization



             การจัดองค์การแบบหน่วยงานที่เน้นความเป็นอิสระ (Autonomous Organization) เป็นแนวคิดของการจัดรูปแบบการทำงานขององค์การให้สามารถบริหารงานได้อย่างเป็นอิสระจากกฎระเบียบต่างๆ ที่ใช้อยู่ โดยต้องการให้การดำเนินงานขององค์การมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเงิน ด้านการจัดการ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว โดยเน้นให้องค์การสามารถพึ่งพาตนเองเป็นหลักสำคัญ ด้วยเหตุนี้อาจถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Decentralized Autonomous Organization (DAO) ซึ่งเป็นรูปแบบองค์การที่ได้รับการกระจายอำนาจอย่างมาก ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างเป็นอิสระ เช่น การจัดตั้งในรูปแบบองค์การมหาชน การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ เป็นต้น

กรณีศึกษาองค์การแบบ Autonomous Organization


       
        ตัวอย่างในกรณีของประเทศอังกฤษ ในสมัยของอดีตนายกรัฐมนตรีแท็ตเชอร์ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาเรียกว่า หน่วยประสิทธิภาพ (Efficiency Unit) โดยได้ทำการแต่งตั้งนายดีเร๊ก เรเน่อร์ (Sir Derek Rayner) ซึ่งเป็นผู้จัดการใหญ่ของบริษัท มาร์กแอนด์สเปนเซอร์ (Marks and Spencer) มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านประสิทธิภาพการบริหาร (Prime Minister’s Adviser on Administrative Efficiency) ซึ่งตำแหน่งนี้มีฐานะเป็นหัวหน้าหน่วยประสิทธิภาพ โดย เรเนอร์ ได้รับการขอให้สร้างวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความสิ้นเปลืองทั้งหลายให้น้อยลงเหมือนกับที่ภาคเอกชนประสบความสำเร็จ หน่วยประสิทธิภาพนี้ประกอบไปด้วยข้าราชการที่มีความสามารถสูงและกลุ่มที่ปรึกษาที่ได้รับการว่าจ้างชั่วคราว



            เป้าหมายสำคัญของโครงการตรวจสอบประสิทธิภาพ ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายด้วยวิธีการทำให้ขั้นตอนการบริหารงานนั้นมีความกะทัดรัดมากยิ่งขึ้น (streamlining administrative procedures)
            หลักการสำคัญของการตรวจสอบประสิทธิภาพ ได้แก่ การตั้งคำถามแบบถอนรากถอนโคน การเข้าไปสังเกตโดยตรง การจัดทำข้อเสนอแนะที่ตั้งอยู่บนรากฐานข้อเท็จจริง และการมีความรู้สึกเร่งด่วนที่จะต้องมีการดำเนินการแก้ไข
             ตลอด 5 ปี ที่เรเน่อร์ เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านประสิทธิภาพการบริหารงานนั้น ปรากฏว่าหน่วยประสิทธิภาพของ เรเน่อร์ ได้ดำเนินการตรวจสอบประสิทธิภาพของกระทรวงต่าง ๆ ถึง 155 ครั้ง ซึ่งมีผลเป็นการช่วยประหยัดเงินของรัฐได้ถึง 300 ล้านปอนด์ ผลอีกประการหนึ่งคือ ได้มีการยกเลิกแบบฟอร์มของทางราชการเกือบ 30,000 แบบฟอร์ม และยังได้มีการปรับปรุงฟอร์มเดิมให้ดีขึ้นถึงประมาณ 41,000 แบบฟอร์ม


ข้อดี และข้อจำกัด องค์การแบบ Autonomous Organization

                  ข้อดีของการจัดองค์การแบบหน่วยงานที่เน้นความเป็นอิสระ (Autonomous Organization) เป็นการทำงานอย่างอิสระ เป็นองค์การสมัยใหม่ จะจัดหน่วยงานอิสระแยกความรับผิดชอบในสินค้า ลูกค้า คู่แข่งของหน่วยงานเอง มีเป้าหมายกำไรเอง ไม่ขึ้นกับองค์การใหญ่ มีความคล่องตัวในการตัดสินใจและการปฏิบัติ และมีความยืดหยุ่น ไม่ต้องผูกติดอยู่กับองค์การใหญ่ และสอบคัดเลือกได้ทั้งผู้ที่เป็นข้าราชการ และไม่ได้เป็นข้าราชการ เปิดโอกาสให้กับทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
                  ข้อจำกัดของการจัดองค์การแบบหน่วยงานที่เน้นความเป็นอิสระ (Autonomous Organization) การทำงานแบบเน้นอิสระ ทุกอย่างต้องเกิดจากการตัดสินใจของตัวเอง มีแค่เพียงแผนงานในการระบุว่าต้องทำงานอะไรบ้างให้สำเร็จ จนไปถึงระบุสายงานความรับผิดชอบทั้งหลายในหน่วยงานนั้นๆ และได้รับผลค่าจ้างตอบแทนตามผลของงาน 

ความคิดเห็น

  1. เนื้อหาละเอียดมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาละเอียด อ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาจัดวางได้สวยงาม

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาเข้าใจง่าย รูปแบบการจัดวางดีค่ะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาละเอียด มีรูปภาพประกอบ ดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาละเอียดเข้าใจได้ง่าย

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น