The Fourth Industrial Revolution

The Fourth Industrial Revolution [4IR]



การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นรูปแบบของการทำงานอย่างชาญฉลาด (smart) โดยการนำข้อมูลที่หลากหลายมาผสมผสานเพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา ทั้งในรูปแบบการจัดการด้วยมนุษย์ และการจัดการด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบในทุกแง่มุมของชีวิตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยโลกของเราผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาแล้วถึง 3 ครั้ง


การปฏิวัติอุตสาหกรรม 1.0

      ยุคนี้เกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1760-1840 มีการสร้างรถไฟ และเครื่องจักรไอน้ำ เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการผลิตด้วยเครื่องจักร และผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม 2.0

      ยุคนี้อยู่ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการคิดค้นระบบสายพานการผลิต รวมทั้งการคิดค้นกระแสไฟฟ้า


การปฏิวัติอุตสาหกรรม 3.0

    เริ่มต้นในทศวรรษ 1960 มีการปฏิวัติคอมพิวเตอร์ เพราะมีพัฒนาสารกึ่งตัวนำเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และในทศวรรษ 1970,1980 มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และในทศวรรษ 1990 มีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต


การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0

      ซึ่งเรากำลังอยู่ในขั้นเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา โดยมีลักษณะเด่นคือ ระบบอินเทอร์เน็ตทีแพร่หลายมากขึ้น มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กลงแต่ทรงพลังมากขึ้น และมีราคาที่ถูกลง รวมทั้งมีการคิดค้นปัญญาประดิษฐ์และจักรกลเรียนรู้ [Machine Learning : ML]

https://www.set.or.th/set/enterprise/article/detail.do?contentId=5475

 

Digital Technologies   

     ที่กำลังเกิดขึ้นในยุคใหม่นี้จะมีความซับซ้อนและบูรณาการกันได้ดีมากกว่าเดิม ส่วนในการผลิต เทคโนโลยีจะเข้าไปช่วยทำให้เกิด “โรงงานอัจฉริยะ” ที่ระบบการผลิตทั้งที่เป็นกายภาพและระบบเสมือนทำงานร่วมกันได้อย่างยืดหยุ่น

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมค 4.0 โดยจะต้องมีองค์ประกอบ 9 ด้าน

        1. หุ่นยนต์อัตโนมัติ ช่วยในการผลิต [Autonomous Robots]

        2. การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ [Simulation]
        3. การบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน [System Integration]
        4. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับสิ่งของ จนกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ [Internet Of Things]
        5. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล [Cybersecurity]
        6. การประมวลผล และการเก็บข้อมูลระบบออนไลน์ [Cloud computer]
        7. การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเนื้อวัสดุ [Additive Manufacturing]
        8. เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ผ่านอุปกรณ์ 3 มิติ [Augmented Reality : AR]
        9. ข้อมูลขนาดใหญ่ มีการเก็บบันทึกและจัดเก็บ การค้นหา และการแบ่งปัน [Big data]

https://www.chi.co.th/article/article-966/

 

 ผลกระทบของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 The Fourth Industrial Revolution [4IR]


          เห็นด้วยกับคำกล่าวของ Klaus Schwab “One of the features of this Fourth Industrial Revolution is that it does not change what we are doing, but it changes us” ซึ่งมีความหมายว่า คุณสมบัติประการหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือการไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรากำลังทำ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเรา เพราะโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากการปฏิวัติทุกครั้งที่ผ่านมาถึง 3 ครั้ง ทุกครั้งล้วนเป็นการปฏิวัติที่นำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา ที่ช่วยเพิ่มความสะดวก ความรวดเร็วให้เราอย่างมากมาย และในยุคปัจจุบัน โลกของเราได้เริ่มต้นเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  ซึ่งการปฏิวัติครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต และการศึกษาเป็นอย่างมาก มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททุกอย่างที่มากขึ้นจากเดิม มีอุปกรณ์สื่อสารเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วทั่วโลก มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มากขึ้น มีหลายแอพ หลายเว็บไซต์ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ด้านการเรียน และด้านการทำงานในอนาคตของเรา


ความคิดเห็น

  1. เนื้อหาดีมากค่ะ อ่านแล้วเข้าใจเนื้อหา

    ตอบลบ
  2. เนื้อหากระชับมากๆค่ะ อ่านง่าย ได้ใจความ

    ตอบลบ
  3. การจัดวางเนื้อหาดี มีรูปภาพประกอบสวยงามค่ะ

    ตอบลบ
  4. จัดเรียงเนื้อหาดีมาก อ่านง่าย เข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  6. เป็นระเบียบดีค่ะ ทำให้น่าอ่านและอ่านง่าย

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาเข้าใจง่าย มีรายละเอียดดี

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น